โครงสร้างการบริหารงาน กรมการขนส่งทางบก

 โครงสร้างการบริหารงาน กรมการขนส่งทางบก

หน้าที่รับผิดชอบ
ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ กรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2545 ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของกรมการขนส่งทางบกดังนี้
กรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม มีภารกิจเกี่ยวกับการจัดระบบ การจัดระเบียบการขนส่งทางบก โดยการกำกับ ดูแล ตรวจสอบ ตรวจตรา ให้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ประสานและวางแผน ให้มีการเชื่อมต่อกับระบบการขนส่งอื่นๆ เพื่อให้ระบบการขนส่งทางบกเกิดความคล่องตัว สะดวก รวดเร็ว ทั่วถึง และปลอดภัย โดยให้มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(1.) ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก กฎหมายว่าด้วยรถยนต์ กฎหมายว่าด้วยล้อเลื่อน และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง 
(2.) ดำเนินการแก้ไข ป้องกัน และส่งเสริมสวัสดิภาพการขนส่งทางบก
(3.) ส่งเสริมและพัฒนาเครือข่ายระบบการขนส่งทางบก
(4.) ดำเนินการจัดระเบียบการขนส่งทางบก
(5.) ร่วมมือและประสานงานกับองค์การและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศ 
ในด้านการขนส่งทางบก และในส่วนที่เกี่ยวกับอนุสัญญาและความตกลงระหว่างประเทศ
(6.) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรม หรือตามที่กระทรวงหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
การแบ่งส่วนราชการกรมการขนส่งทางบก มีดังนี้ 
ราชการบริหารส่วนกลาง
(1.) สำนักงานเลขานุการกรม
(2.) กองการเจ้าหน้าที่
(3.) กองคลัง
(4.) กองนิติการ
(5.) สำนักจัดระบบการขนส่งทางบก
(6.) สำนักงานจัดระเบียบการขนส่งทางบก
(7.) สำนักมาตรฐานงานทะเบียนและภาษีรถ
(8.) สำนักวิศวกรรมและความปลอดภัย

ราชการบริหารส่วนภูมิภาค
สำนักงานขนส่งจังหวัด
ราชการบริหารส่วนกลาง
(1.) สำนักงานเลขานุกากรม มรอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
ก. ดำเนินการเกี่ยวกับงานบริหารทั่วไป และปฏิบัติงานสารบรรณและงานวิทยุสื่อสารของกรม
ข. ดำเนินการเกี่ยวกับงานช่วยอำนวยการและงานเลขานุการของกรม
ค. ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข่าวสาร ผลการปฏิบัติงานและความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานของกรม
ง. ดำเนินการเกี่ยวกับอาคารสถานที่และยานพาหนะของกรม
จ. ปฏิบัติงานร่วมกับสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

(2.) กองการเจ้าหน้าที่ มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
ก. จัดระบบงานและบริหารงานบุคคลของกรม
ข. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย

(3.) กองคลัง มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
ก. ดำเนินการเกี่ยวกับการเงิน การบัญชี การงบประมารและการพัสดุของกรม รวมทั้งเงินทุนหมันเวียน
ข. ดำเนินการเกี่ยวกับพัสดุของกรม
ค. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย

(4.) กองนิติการ มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
ก. ดำเนินการเกี่ยวกับงานด้านกฎหมายตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก กฎหมายว่าด้วยรถยนต์และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ข. ดำเนินการเกี่ยวกับงานนิติกรรมและสัญญา งานเกี่ยวกับความรับผิดชอบทางแพ่ง อาญา งานคดีปกครอง 
และงานคดีอื่นที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรม เว้นแต่งานคดีที่กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักจัดระเบียบการขนส่งทางบก

(5.) สำนักจัดระบบการขนส่งทางบก มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
ก. จัดระบบการขนส่ง แผนงาน โครงการด้านการขนส่งทางบก
ข. ดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาการขนส่งทางบกในด้านรูปแบบและวิธีการ ตลอดจนการประสานระหว่างการขนส่งระบบอื่น
ค. จัดทำและประสานแผนการปฏิบัติงานของกรมให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนแม่บทของกระทรวงรวมเร่งรัด ติดตาม 
และประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานในสังกัด
ง. ศึกษาและวิเคราะห์เพื่อกำหนดมาตรฐานและหลักเกณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งทางบก รวมถึงการกำหนดอัตราค่าระวาง
ค่าโดยสาร ค่าธรรมเนียม และค่าบริการอื่นๆ สำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งทางบก
จ. ดำเนินการเกี่ยวกับงานห้องสมุด และจัดระบบการเก็บและการใช้ประโยชน์ข้อมูลของหน่วยงานในสังกัดและเป็นศูนย์ ข้อมูลของกรม
ฉ.ร่วมมือและประสานงานกับองค์การระหว่างประเทศ หรือหน่วยงานต่างประเทศ ในด้านความช่วยเหลือ
และร่วมมือในด้านการขนส่งทางบก รวมทั้งการจัดประชุมและเจรจาตามที่ได้รับมอบหมาย
ช. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย

(6.) สำนักจัดระเบียบการขนส่งทางบก มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
ก. ดำเนินการเกี่ยวกับการอนุญาตให้ประกอบการขนส่ง และการอนุญาตให้รับจัดการขนส่งตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
ข. ปฏิบัติงานและประสานงานเกี่ยวกับงานคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกลาง คณะอนุกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัด และคณะกรรมการอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
ค. กำกับดูแลและตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ประกอบการขนส่ง เจ้าของรถ ผู้ประจำรถ และผู้ขับรถ รวมทั้งสืบสวนจับกุมผู้กระทำการฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยการ ขนส่งทางบก และกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ และดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก ในส่วนที่เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ตรวจการ
ง. ดำเนินการเกี่ยวกับการสอบสวน เปรียบเทียบปรับและดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก กฎหมายว่าด้วยรถยนต์ และกฎหมายอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
จ. กำกับ ดูแล ตรวจสอบ และดำเนินการสถานีขนส่ง
ฉ. ดำเนินการเกี่ยวกับดารกำหนด ติดตั้ง ยกเลิกหรือย้ายที่หยุดรถโดยสารในเขตกรุงเทพมหานคร รวมทั้งการดำเนินการเกี่ยวกับการอนุญาตให้โฆษณาที่ตัว ถังรถโดยสารหรือป้ายหยุดรถโดยสาร
ช. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย

(7.) สำนักมาตรฐานงานทะเบียนและภาษีรถ มีอำนาจดังต่อไปนี้
ก. ศึกษาและวิเคราะห์เพื่อเสนอแนะนโยบายเกี่ยวกับระบบและมาตรการด้านงานทะเบียนและภาษีรถ
ข. กำกับ ดูแล ตรวจสอบ และดำเนินการด้านทะเบียนการจัดเก็บภาษี ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก และกฎหมายว่าด้วยรถยนต์
ค. ดำเนินการด้านใบอนุญาต และใบอนุญาตประจำรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกและกฎหมายว่าด้วยรถยนต์
ง. ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย

(8.) สำนักวิศวกรรมและความปลอดภัย มีอำนาจดังต่อไปนี้
ก. กำหนดแบบมาตรฐานและให้ความเห็นชอบรถเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถ รวมทั้งการทดสอบด้านวิศวกรรมยานยนต์ และด้านมลภาวะที่เกิดจากยานพาหนะ
ข. ศึกษาและวิเคราะห์เพื่อพัฒนาความรู้และความชำนาญของบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน ด้านวิศวกรรมยานยนต์ รวมทั้งจัดหามาตรการส่งเสริมความปลอดภัยด้านการขนส่ง ทางบก
ค. ส่งเสริมและพัฒนาระบบงาน รวมทั้งเผยแพร่และแนะนำความรู้ เพื่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างภาครัฐ และภาคเอกชนในด้านวิศวกรรมยานยนต์
ง. กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ มาตรฐานและดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจสภาพให้เป็นไปตามกฎหมายรวมทั้ง ดำเนินการเกี่ยวกับการอนุญาตและกำกับดูแลการดำเนินการ ของสถานตรวจภาพรถเอกชน และให้คำปรึกษา แนะนำ ฝึกอบรมเกี่ยวกับการใช้ การซ่อม และบำรุงรักษาเครื่องสภาพรถ
จ. กำกับ ดูแล ตรวจสอบ และดำเนินการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนการขนส่งของกรม 
ตลอดจนดำเนินการเกี่ยวกับการอนุญาต และกำกับ ดูแลโรงเรียนสอนขับรถของเอกชน
ฉ. ดำเนินการเกี่ยวกับการแก้ไข ป้องกัน และส่งเสริมการขนส่งทางบกให้ปลอดภัย
ช. ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดอบรมและสัมมานาผู้ประจำรถ ผู้ประกอบการขนส่ง เจ้าของรถ และผู้สนใจทั่วไป
ซ. ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย
ราชการบริหารส่วนภูมิภาค 
สำนักงานขนส่งจังหวัด มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
ก. ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก กฎหมายว่าด้วยรถยนต์ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องภายในจังหวัด
ข. วางแผนการขนส่งทางบกและส่งเสริมสวัสดิภาพการขนส่งทางบกภายในจังหวัด
ค. กำกับ ดูแล และสนับสนุนการปฏิบัติงานของสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา และสถานีขนส่ง
ง. ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย